ลำปาง ยุทธเวหา

สมรภูมิ จีน พม่า อินเดีย ( China-Burma-India Theater ; CBI ) ในขณะนั้นอเมริกายังไม่ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น
ในการส่งนักบินอเมริกันเข้าร่วมสงครามจึงมาในรูปแบบอาสาสมัคร ลาออกจากกองทัพก่อน
นั่นคือ AMERICAN VOLUNTEER GROUP หรือ AVG นั่นเอง
กองบินของกองทัพบกสหรัฐได้จัดตั้งฝูงบินชื่อว่า Flying Tigers  แต่เดิมมีเครื่องแบบ P-40 ประจำการ
พอเข้าปลายสงครามโลกจึงส่ง P-51มัสแตง และ P-38 ไลนท์นิ่ง มาประจำการ

เครดิตภาพ: http://combatflyer.com/

11 พฤศจิกายน 2487
สนามบินยูนนาน คุนหมิง ตอนใต้ของจีน เหล่าฝูงบิน P-51 ม้าป่ามัสแตง และ P-38 ไลท์ติ้งแบบสองเครื่องยนต์
ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติภารกิจค้นหาทำลายทั้งเครื่องบิน และการขนส่งยุทธภัณฑ์ของญี่ปุ่นทางตอนเหนือของไทย

เครดิตภาพ : http://www.j-aircraft.com/then_now/robert_anderson/kunmingchina.htm
ระยะทางจากสนามบินยูนนานมายังภาดเหนือของไทยมีระยะประมาณ 600 กิโลเมตร จึงอยู่ในระยะปฏิบัติการของเครื่องบินที่ติดตั้งถังน้ำมันสำรองอย่าง P-51 และ P-38

เครดิตภาพ: http://www.ausairpower.net

เครดิตภาพ : http://74fdc.wordpress.com/2012/03/23/belly-tank-racesters-upcycled-cars/

P-38 ถูกกำหนดภารกิจหลักให้เป็นเครื่องคุ้มกัน โดยจัดหมู่บินอยู่บนสุด ส่วน P-51 หมู่แรกทำหน้าที่โจมตีภาคพื้นโดยใช้
ปืนประจำเครื่อง (Strafing) ส่วนP-51 อีกหนึ่งหมู่อยู่ระดับกลาง ทำหน้าที่คุ้มกันหมู่บิน Strafer ที่จะดำดิ่งลงไปจัดการเป้าหมาย
เช่น ยานยนต์ รถไฟ 
ในขณะโฉบลงไปยิงเป้าหมาย นักบินจะต้องมีสมาธิการควบคุมการเล็ง ความเร็ว ความสูง
ทำให้อาจไม่ทันสังเกตุเครื่องข้าศึกที่เข้ามาหาได้   จึงจำเป็นต้องมีเครื่องคุ้มกันอยู่อีกชั้นหนึ่ง

10.00 น. ฝูงบินทั้งหมดออกเดินทางจากสนามบินยูนนานมายังเชียงใหม่และก็มุ่งหน้าลงใต้มายังลำปางทันที
คาดว่าคงจับแนวเส้นทางรถไฟมาจากเชียงใหม่
และแล้วควันสีดำของรถจักรไอน้ำก็ทำให้ขบวนรถไฟมันถูกตรวจพบได้ไม่ยากนักเจ้าP-51มัสแตง ได้เข้าโจมตีขบวนรถไฟดังกล่าว
คาดว่าคงได้รับความเสียหายพอสมควร จากนั้นก็ปรับขบวนมาเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ นครลำปาง

ขณะเดียวกันที่สนามบินพระบาท จังหวัดลำปาง ก็ได้รับแจ้งมาแล้วว่ามีเครื่องบินข้าศึกมุ่งหน้ามาจากเชียงใหม่
สนามบินพระบาท จังหวัดลำปางขณะนั้น มีฝูงบินขับไล่ที่16 ประจำอยู่โดยเป็นเครื่องบินขับไล่แบบ 12 (บ.ข.12) Ki-27 otasu
นักบินไทยไม่รอช้า ถึงแม้จะด้อยกว่าทั้งจำนวน และประสิทธิภาพของเครื่อง

Ki-27 otasu จำนวน3 ลำก็ทะยานขึ้นไปสมทบกับเครื่อง Ki-27 อีกสองลำทีทำการบินลาดตระเวนอยู่แล้ว
เหตุการณ์ที่เหลือทั้งหมด อยากให้ตามไปอ่านต้นฉบับที่บล็อกคุณ analoyo โดยท่านท้าวทองไหล
หรือ พ.อ.อ. รัชต์ รัตนวิจารณ์ ที่แฟนๆคอเครื่องบินต้องรู้จักเป็นอย่างดี โดยผมจะไม่ขอยกมาเล่าในกระทู้นี้นะครับ
เพราะยาวมาก ในกระทู้นี้จะนำเสนออีกจากอีกมุมมองนึง

อย่างไรโปรดติดตามอ่านจากที่นี่ด้วยนะครับ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=skyman&month=04-2007&date=07&group=2&gblog=26

/........
ทางด้านนักบินอเมริกันได้เล่าถึงเหตุการณ์นั้นว่า นักบินอเมริกันในเครื่องมัสแตงที่ถูก ร.อ.คำรบ เปล่งขำ(ยศขณะนั้น)
ยิงตกคือ ร้อยโท Henry Francis Minco ซึ่งเป็นฝูงบินคุ้มกันชุด Strafer
Second Lt.Henry Francis Minco

ในการสนทนาครั้งสุดท้ายได้ยินเสียง มินโค เรียกหัวหน้าฝูงบินทางวิทยุ
“นายเห็นพวกนั้นมั้ย แวด” ฝูงบินที่ว่าอยู่ห่างออกไปทางเหนือ 5 ไมล์
“โจมตี” ร้อยเอก แวด หัวหน้าฝูงสั่ง จากนั้นเขาจึงปลดถึงน้ำมันสำรองทิ้ง และไต่ขึ้นไปหาความสูง เพื่อใช้การโจมตีแบบ
โฉบเขาไปยิง (Boom and Zoom) จากนั้นก็จะไต่ระดับขึ้นไปอีกครั้ง แล้วจึงโฉบกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งเป็นเทคนิคของเครื่องบินรบที่มีสมรรถนะสูง ความเร็วสูง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยมุมเลี้ยวที่กว้าง

หากข้าศึกเบรก หรือเลี้ยวหลบ เครื่องบินที่มี Energy สูงกว่าก็จะไม่ฝืนเลี้ยวตาม เนื่องจากจะทำให้สูญเสียระยะสูงและความเร็ว
แล้วก็จะตกเป็นรอง Ki-27 ซึ่งความคล่องตัวที่ความเร็วต่ำมีมากกว่าทันที 
สิ่งนี้ต้องบอกว่าเป็นกฎเหล็กของเหล่าเสืออากาศทั้งหลาย จะต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดก็ว่าได้

"The cardinal rule of air combat was never to get into a turning fight with the Japanese."

“ผมเห็นข้าศึกข้างล่างสองลำ ผมจะตามลงไป” มินโคแจ้งทางวิทยุ สิ้นเสียง มินโค ม้วนเครื่องลงไปยังเป้าหมายด้านล่างทันที
จากนั้นไม่มีใครได้ยินเสียงหรือพบเขาอีกเลย ต่างฝ่ายต่างสาละวนกับการเข้าต่อสู้

Ki-27 นั้นใช้กลยุทธในการบินต่ำ มีป่าด้านล่างช่วยในการพรางตา แต่ด้วยข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่า เมื่อเลี้ยวหนีไปทางนึง
ก็ไปเจออีกลำนึงที่รอจังหวะอยู่ หลังจากยุทธเวหาสิ้นสุดลง ฝ่ายเราสูญเสียเครื่องบินจำนวนห้าลำ พ.อ.อ.วาสน์ สุนทรโกมล
ได้รับบาดเจ็บสาหัสกระโดดร่มออกมา และเสียชีวิตในคืนนั้น
ส่วนฝ่ายฝูงบินไทเกอร์ มินโค ถูกแจ้งสถานะ Missing In Action (MIA) และมีการพยามตามหาเขาหลายครั้ง
แต่ก็ไม่ได้ข่าวคืบหน้าอย่างไร
สุดท้ายก็ได้ทราบว่ามิชชันนารีที่ รพ.แวนแซนด์วูด เป็นผู้ฝังศพนักบินอเมริกันเอง
โดยนักบินพยายามออกจากเครื่องแต่เป็นระยะต่ำมาก ร่มคงกางไม่ทัน

แม่ของมินโคเองก็ได้รับแจ้งแต่เพียงว่าลูกชายของเธอสูญหายไป เธอเองยังเชื่ออยู่เสมอว่าลูกชาย ยังมีชีวิตอยู่
ที่ใดที่หนึ่ง จนกระทั่งเธอเสียชีวิตลงในวัย 96 ปี พร้อมความหวังที่เชื่อว่าลูกชายยังคงมีชีวิตอยู่
จังหวัดลำปางเองก็ได้มีการพยายามเก็บรวบรวม เรื่องราวหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะท่านอาจารย์ท่านหนึ่งที่ได้
ร่วมรวม เรื่องราวต่างๆออกมาเป็นหนังสือที่เรียกว่า ประวัติศาสตร์ศึกษาสัญจร ยุทธเวหาลำปาง

ท่านคือ อาจารย์ ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ที่ชาวลำปางรู้จักท่านเป็นอย่างดี วันที่ผมไปพบท่าน ท่านยังนั่งอัพข่าวสาร
สเตตัสเฟสบุ๊คของท่านอยู่เลย ท่านเกิด 24 กพ 2471 ปัจจุบันท่านอายุ 85 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรงมาก

ผมเองได้ติดต่อท่านเพื่อหาข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้เพิ่มเติม ปรากฏว่าตอนนี้ทีท่านเหลือแต่ปกเล่มสีแดงเท่านั้น
เนื้อหาข้างในไม่เหลืออยู่แล้ว ชำรุดสูญหาย ถูกยืมลืมไปตามกาลเวลา เล่มอื่นๆท่านบอกว่าจะหาได้ตามห้องสมุดของสถาบันการศึกษาต่างๆ
เมื่อปี 12 ธันวาคม 2533 ทางจังหวัดได้เชิญอดีตนักบินที่ร่วมในยุทธเวหาครั้งนั้นมาพูดคุย เล่าเรื่องราวต่างๆ ในเหตุการณ์วันนั้นท่านคือ
นาวาอากาศตรี จุลดิศ เดชกุญชร

ท่านได้เล่าเหตุการณ์วันนั้นที่ ร.ต.คำรบ เปล่งขำ ยิงมัสแตงตก โดยมัสแตงดำดิ่งลงมาอย่างรวดเร็ว
เมื่อ ร.ต.คำรบ ดึงเครื่องเพื่อเบรค ทำให้มัสแตง ถลำลอด ki-27 ไปข้างหน้า ภาษานักบินก็ต้องบอกว่า over shoot
จังหวะที่มัสแตงดึงเครื่องขึ้น จึงที่เคลื่อนมาตัดกับแนวยิงพอดี ร.ต.คำรบ ไม่รอช้าจึงเหนี่ยวไกยิงออกไปทันที

ภาพจำลองเหตุการณ์โดย อาจารย์ ศักดิ์ วาดไว้ในหนังสือดังกล่าว
มีอีกสองสนามบินในลำปางที่ใช้ในช่วงสงครามครั้งนั้นคือ สนามบินเกาะคา ที่ร.อ.คำรบ เปล่งขำนำเครื่องไปลงจอด
เนื่องจากที่สนามบินพระบาทมีฝูง P-38 บินวนเวียนอยู่

ส่วนอีกสนามบินคือสนามบินลับไก้ลสถานีรถไฟห้างฉัตร
เครดิตภาพ: http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3407&start=90

http://www.clevelandmagazine.com/ME2/dirmod.asp?sid=E73ABD6180B44874871A91F6BA5C249C&nm=Arts+%26+Entertainemnt&type=Publishing&mod=Publications%3A%3AArticle&mid=1578600D80804596A222593669321019&tier=4&id=C0E7C70BD1A5411695633260681223F1

http://rampernglampang.blogspot.com/2008/12/17-19.html

ท้ายนี้ติดตามชม เหตุการณ์จำลอง Air Battle of Lampang ได้แล้วครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ต่อภาคสอง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิปนี้จัดทำโดยเกมส์ IL-2 sturmovik จึงได้แทคห้องเกมส์คอมด้วย

ยังมีเรื่องราวของเมืองลำปางในอดีตที่น่าสนใจคือ สถานีเรดาห์ลำปาง

https://pantip.com/topic/31011243
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่