๙ แล้ว ๖ ๖ แล้ว ๙ คำถามจากหลังไมค์ ของนักลงทุนระยะยาว ?



เพื่อนสมาชิกได้ถามมาทางหลังไมค์เกือบอาทิตย์แล้ว  เพิ่งจะมีเวลาว่างโพสต์ตอบได้ยาวๆ


ขอคัดลอกข้อความ  นำมาเรียบเรียงวรรคตอนใหม่  
เพื่อทะยอยตอบดังนี้ครับ

คำถาม

ติดตามไล่อ่านกระทู้ที่คุณอาตั้งไว้หมดแล้ว(ไม่รู้ว่ากดข้ามไปบ้างเปล่า)
ผมสงสัยครับว่าคุณอาถือหุ้นตลอดเวลาเลยใช่เปล่าครับ

คำคอบ

สองปีมานี้ ได้ลดการถือครองหุ้น ไปถือเงินสดแทนประมาณ ๓๕ % ครับ
เพราะเชื่อว่า  ราคาหุ้นไม่ได้มีแต้มต่อให้ถือหุ้นไว้เต็มพอร์ตเหมือนที่ผ่านมาอย่างยาวนานนับสิบๆปี

เหตุผลที่ปีนี้ ได้ขายหุ้นบางส่วน เพราะจำนวนเงินปันผลที่ได้รับ   เริ่มลดลงมา  
ทั้งๆที่  จำนวนหุ้น  ยังคงมีเท่ากับปีที่แล้ว  

เมื่อมีหุ้นตัวไหน  ผลตอบแทนต่ำกว่าเงินฝากธนาคาร และพีอีขึ้นสูงมากจากราคาหุ้นขึ้นสูง
ก็จะทะยอยขายออกบางส่วน
นำไปฝากธนาคาร   นำไปเสี่ยงโชคซื้อสลากออมสิน และซื้อกองทุนตราสารหนี้ ที่มีสภาพคล่องในการไถ่ถอน (เต็มที่ไม่เกินหกเดือน)






คำถาม
หากว่ายังไม่ทำคลายเครียดเรโชก็ไม่สนใจว่าตลาดจะแพงไปถูกไป
หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะทำคลายเครียดก็ปล่อยมันไปตามหลักการถือหุ้นได้ไม่จำกัดเวลา

คำตอบ


เคยบอกไว้หลายครั้งแล้วว่า
จะถือหุ้นนานหรือไม่นาน  มันเป็นผลที่เกิดตามมาของราคาหุ้นมีแต้มต่อให้ถือนานๆ
ไม่เคยตั้งเป้าว่า  จะถือหุ้นตัวไหน นานแค่ไหน    ถ้าเชื่อว่าหุ้นไม่มีแต้มต่อให้ถือ
มักจะขายทิ้งทุกราคาที่มีคนเสนอซื้อ



ดังน้นการถือหุ้นไม่จำกัดเวลา มันจึงขึ้นอยู่กับว่า  แต้มต่อของราคาหุ้นที่ซื้อและถือไว้ครับ  
เคยจัดอันดับของแต้มต่อของหุ้นที่จะซื้อและถือไว้ดังนี้

๑  ซื้อที่แนวรับแรก  

ยีลด์ปันผลใกล้เคียงหรือมากกว่าฝากธนาคารไม่มาก  พีอีสูงเกินสิบเท่า พีบีวีเกินหนึ่งเท่าครึ่ง
ราคาที่ซื้อที่แนวรับแรกนี้  จะไม่รอให้ถึงคลายเครียดเรโช
เพราะถือว่าราคาหุ้น ไม่ได้มีแต้มต่อมากพอให้ถือรอ
อาจจะขายทำกำไรเล่นรอบ ซื้อถูกขายแพง  
หรือไม่ก็ถือต่อรับเงินปันผลที่ยังดีกว่าฝากธนาคาร   แล้วแต่ความพอใจกับแต้มต่อที่มีอยู่

๒  ซื้อที่แนวรับที่สอง
ยีลด์ปันผลดีกว่าฝากธนาคารสองสามเท่าขึ้นไป   พีอีตอนซื้อไม่เกินสิบ พีบีวีต่ำกว่าหนึง
ซึ่งผมหาหุ้นในแนวรับที่สองไม่เจอมานานมากแล้ว  
เลยเหลือแต่หุ้นเก่าๆ  ที่เคยซื้อไว้ที่แนวรับนี้เท่านั้น  
ราคาหุ้นที่ซื้อแบบมีแต้มต่อประมาณนี้
คือราคาหุ้นที่จะกล้าถือไว้นานๆ  โดยไม่สนใจว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะขึ้นหรือลง
และเสริมความกล้าถือนานๆ  ด้วยการทำคลายเครียดเรโช  ขายหุ้นบางส่วนเอาเงินต้นออกมาให้หมด

๓ ซื้อที่แนวรับสุดท้าย
ส่วนของผู้ถือหุ้น  ลบด้วยหนี้ทั้งหมดของบริษัท  หารด้วยจำนวนหุ้นจดทะเบียนทั้งหมด  แล้วหารด้วยสอง
ได้ราคาหุ้นเท่าไร ก็เข้าซื้อและรอวัดผลแบบไม่ขายไม่ขาดทุน  ไม่ขายไม่กำไร
ถือไปจนกว่าจะได้กำไรหลายๆเท่า หรือได้วอลเปเปอร์มาดูเล่น

หุ้นที่ซื้อตามแนวรับสุดท้าย ในปัจจุบันไม่มีแล้ว
ที่เคยซื้อคือ  jct  csr  tpp  







คำถาม
ทีนี้ผมเลยสงสัยว่าคุณอาต้องผ่านช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตมาแล้ว
หากถือหุ้นเต็มพอร์ตและตอนนั้นยังไม่มีเหตุที่จะทำคลายเครียด
หากปรากฎว่าตลาดเกิดตกหนัก
คุณอาจะขายทิ้งเพื่อไปช้อนซื้อหุ้นเดิมในราคาต่ำหรือว่าปล่อยมันไปครับ
เพราะหาเป็นผมหากซื้อหุ้นเต็มพอร์ตแล้วตลาดตกหนัก
คงจะไม่เหลือเงินที่จะซื้อหุ้นแล้วคงได้แต่มองราคามันร่วงลงไป
คือผมเป็นแนวซื้อที่ถือทิ้งไว้ไม่ค่อยขายนะครับ
เนื่องจากไม่รู้ว่าจะขายตอนไหนดี
เพราะหุ้นแต่ละตัวที่ซื้อมาก็คัดแล้วว่าพื้นฐานดี
แต่ราคาบางตัวอาจจะสูงไปบ้าง แต่ก็พอมีแต้มต่อให้อุ่นใจบ้าง เช่นยีลที่ได้


คำตอบ

ผมเคยพูดถึงประสบการณ์ว่า มีทั้งแบบแนวนอน และแนวตั้ง
แบบแนวนอน ก็วนลูบไปมา เดี๋ยวกำไร เดี๋ยวขาดทุน หาหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้
แบบแนวตั้ง  ก็จะค่อยๆต่อยอด  ให้กำไรยั่งยืนมากขึ้น  ขาดทุนลดลง ไม่ใช่ฝันเกินจริงไปถึงขั้น ไม่ขาดทุนเลย
ผมเสียเวลาอยู่กับประสบการณ๊์แนวนอน  มานานเกือบยี่สิบปี
จากคำว่า  "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน"   และ " ไม่ขาย ไม่กำไร"  
พอร์ตเลยโตช้ามาก  ที่เคยโตเร็วอยู่ช่วงหนึ่ง
ก็มาจากตลาดหุ้นขาขึ้นเป็นใจให้ ไดิ้กำไรก้อนใหญ่ๆเท่านั้น


ได้ค่อยๆปรับปรุงตัวขึ้นมาเป็น  "ยอมขายตัดขาดทุน" และ "ไม่ขาย ไม่กำไร"
โดยกำหนดเอาว่า  หุ้นตัวนั้น   มีแต้มต่อให้ถือหรือไม่
ถ้าไม่มี ก็ขายทิ้งทุกราคา  ไม่ว่าจะยังมีกำไรหรือขาดทุน

ดังนั้น ผมเชื่อและมั่นใจว่า  ผมจะไม่รอจนเกิดวิกฤต แล้วค่อยขายหุ้นทิ้ง
ที่ผ่านๆมาตามประสบการณ์แนวนอน
คือถือหุ้นไว้  จนเกิดความเสียหายร้ายแรงมากที่สุดในช่วงฟองสบู่แตก
กว่าจะกลับขึ้นมาใหม่ ใช้เวลาเกือบสิบปี   เมื่อเริ่มสะสมประสบการณ์แนวตั้งได้บ้างแล้ว

ที่ราคาหุ้นยังตกไม่ได้มาก   ผมเชื่อว่า
เกิดจาก  ผลตอบแทนจากการฝากธนาคาร  ต่ำอย่างเรื้อรังมาเกินสิบปีแล้ว
ถ้าดอกเบี้ยเงินฝากเริ่มขยับขึ้น  ต้องระวังให้มากๆๆๆเลยครับ

ที่บอกว่า ไม่รู้จะขายหุ้นตอนไหนดี
เอาง่ายๆ ก็ได้ครับ ขายหุ้นบางส่วนไปตรงที่ราคาหุ้นขึ้น จนยีลด์ต่ำกว่าเงินฝากประจำธนาคาร
หรือไม่ก็เรียนรู้กราฟรายสัปดาห์ ไว้เป็นแนวทางในการขายหุ้นทิ้งบางส่วนทำกำไร





คำถาม
ตรงนี้ผมคาใจคนที่อยู่รอดในวงการหลายๆคนครับว่าเขาทำอย่างไรหากหุ้นตกหนัก
เขาไม่เสียดายเหรอหากถือคติไม่ขายทิ้งปล่อยให้เงินมายาตัวเองหายไปบางทีสี่ห้าสิบเปอร์เซ็นต์
เป็นผมคงเสียดายจนเครียดแน่ๆครับ

ขอบคุณครับผม


คำตอบ

ถ้าจะตอบแบบง่ายๆก็คือ  
ให้ถามตัวเองว่า  หุ้นตกหนักๆเพราะอะไร
บริษัทแย่อย่างเรื้อรัง
เศรษฐกิจเร่ิมแย่แบบเห็นๆ
ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารเริ่มขยับขึ้นไปเรื่อยๆ
ฯลฯ  

ถ้าเจออันไหน มีเหตุผลเหมาะสำหรับตัวเรา
ก็ให้ตัดสินใจไปตามนั้นครับ
ไม่มีการ  รู้งี้ คกรถ ติดดอย ขายหมู
เพราะผมจะไม่เอาอนาคตที่รู้ผลลัพธ์แล้ว  กลับไปตัดสินใจการกระทำในอดีตที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว

ช่วงซับไพร์ม  ไม่ใช่วิกฤตของประเทศไทย
ผมเลยไม่กลัวในตอนซับไพร์ม

เพราะดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารยังคงต่ำติดดินเหมือนก่อนเกิดซับไพร์ม
แถมยีลด์ปันผล  จากราคาหุ้นกลับเพิ่มพรวด
ทำให้ได้ซื้อหุ้นที่แนวรับที่สอง  แล้วถือมาจนทุกวันนี้ หลายตัว

อมยิ้ม01อมยิ้ม01อมยิ้ม01อมยิ้ม01อมยิ้ม01อมยิ้ม01

แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่