ซึมเศร้าหรือไบโพล่าร์..... ลองมาทำความเข้าใจ การทำงานของสมองกันดีไหมครับ? (กระบวนการทำงานและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค)

กระทู้คำถาม
สาเหตุของโรค (เกิดจากหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวะ ปัจจัยโรคอื่นๆที่มีผลเกี่ยวเนื่อง)
ปัจจัยทางชีวะ บางส่วน
1. จากการสแกนสมอง พบว่า สมองบางส่วนมีขนาดเพิ่มขึ้น(เซลล์สมองมีการทำงานมากขึ้น) หรือมีขนาดลดลง(เซลล์สมองบาดเจ็บถูกทำลาย)
2. ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่า ถ้าพ่อแม่เป็นโรค ลูกมีโอกาศเป็นด้วย(ยังไม่พบยีนต้นเหตุเลยครับ) หรือปัจจัยสิ่งแวดล้อม พ่อแม่ป่วยด้วยโรคนี้ ใช้อารมณ์โกรธตำหนิกดดันจิตใจลูกต่อเนื่อง..... ทำให้สมองลูกหลั่งฮอร์โมนมากเกินไป จนสร้างความบาดเจ็บให้สมองของลูก
*สมองก็เหมือนร่างกาย เป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเชลล์สมอง เซลล์กล้ามเนื้อ...... ถ้าใช้งานหนักซ้ำๆนานๆจนได้รับบาดเจ็บ มันก็ทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม และถ้ายังไม่พักรักษา สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทน ปล่อยให้บาดเจ็บมากขึ้น อาการก็จะแย่ลงไปเรื่อยๆครับ


กระบวนการทำงานในสมอง
เกี่ยวกับเซลล์สมองส่วนที่ผลิตฮอร์โมน หรืออวัยวะอื่นที่มีผลต่อเนื่องกับฮอร์โมน (โดปามีน นอร์อะดีนารีน อะดีนารีน และซีโรโตนิน)
- ฟีนิลอะลานีน(จากอาหาร) --(โดยเอ็มไซม์AADC+วิตตามินB6)--> เปลี่ยนเป็น โดปามีน --->นอร์อะดีนารีน --->อะดีนารีน
- ทริปโตแฟน(จากอาหาร)   --(โดยเอ็มไซม์AADC+วิตตามินB6)--> เปลี่ยนเป็น ซีโรโตนิน <--->เมลาโทนิน


ไบโพล่าร์ คือ มีอาการเมเนียและซึมเศร้า สลับกัน

1. อาการซึมเศร้า ใช้อะดีนารีนมากเกินไป(ความกลัวหรือเครียด)
   ความกลัวหรือเครียด ทำให้สมองสร้างอะดีน่ารีนเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้สารตั้งต้นลดต่ำลง(โดปามีนและนอร์อะดีนารีน)  ทำให้รู้สึกไม่มีความสุขความพึ่งพอใจในชีวิต และรู้สึกหนาว ไม่รู้สึกหิว รู้สึกขาดความรักผูกพัน เพราะโดปามีนที่ต่ำเกินไป ทำให้ลดการหลั่งออกซิโทซินตามด้วย(ฮอร์โมนแห่งความรัก ผูกพัน เชื่อใจและมั่นใจในตนเอง) จึงรู้สึกไปเองว่าไม่มีใครรัก รู้สึกโดดเดี่ยว ขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกเป็นภาระ ไม่ต้องการสังคมกับใคร
   และทำให้ต่อมหมวกไตกับตับอ่อน เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนคอติซอนและกลูคาก้อน เพื่อให้ตับเปลี่ยนโปรตีนและไขมันเป็นน้ำตาล ถ้ากลูคาก้อนสูงมากก็จะกดการทำงานของอินซูลินให้ลดลง ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงรู้สึกร่างกายอ่อนเพลีย(คล้ายเป็นเบาหวานอ่อนๆ ปัสสาวะบ่อยขึ้น) และคอติซอลทำให้สมองไวต่อสิ่งเร้า เช่น ได้ยินเสียงที่เบา หรือหลับไม่สนิท และถ้าคอติซอลเพิ่มสูงเป็นเวลานาน จะมีผลลดการซ่อมแซมสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง) รวมถึงสมองและร่างกายส่วนอื่นที่ต้องการการซ่อมแซมด้วย และมีผลให้ร่างกายสะสมชั้นไขมันเพิ่มขึ้นที่หน้าท้อง(อ้วนบริเวณกลางลำตัว)
   เมื่อใช้เอ็มไซม์ AADC มากเกินไป ก็ส่งผลให้ขาดเอ็มไซม์นี้  จึงสร้างซีโรโตนินได้น้อยลง ส่งผลให้ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ทะเลาะเบาะแว้งง่าย ความอยากอาหารลดลง และสร้างเมลาโทนินได้ลดลงตามไปด้วย จึงนอนหลับได้น้อยชั่วโมง

* ซึมเศร้า เมื่อสมองวนคิดเรื่องเครียดขึ้นเอง ก็ต้องหาวิธีหยุด(ยิ่งห้ามคิดสิ่งที่เครียด สมองยิ่งคิด..... ปรากฏการณ์หมีขาว อ่านความคิดเห็นที่4) การวนคิดเรื่องเดิมๆที่เครียด ไม่มีประโยชนย์แถมยังก่อโรคไม่สิ้นสุด วนซ้ำๆอยู่แบบนั้น(ใช้เซลล์สมองส่วนเดิมทำงานหนักยาวนาน ยิ่งเพิ่มความบาดเจ็บให้เซลล์สมองส่วนนั้น)
    เมื่อรู้สึกเริ่มมีอาการวนคิด ควรหากิจกรรมอื่นเบี่ยงเบน(หาวิธีที่ทำให้สมองส่วนอื่นทำงาน แทนสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด) เช่น เล่นกีฬา ทำงานอดิเรก ดูซีรี่ย์ ดูการแข่งกีฬา อ่านนิยาย เล่นเกมส์แซตเก็บเลเวล การคิดซ้ำๆเรื่องเจ็บปวด ไม่ใช่การลงมือแก้ไขปัญหาได้จริง มีแต่วนคิดเรื่องเศร้าเกินความจริงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่ให้เพิ่มขึ้นอีก
(ยิ่งสร้างอะดรีนารีนมาก ก็ทำให้โดปามีนลดต่ำลงมาก ส่งผลให้รู้สึกไม่มีความสุขในชีวิตครับ..... พอไม่มีความสุขจากสิ่งต่างๆรอบตัว ก็ยิ่งทำให้รู้สึกเศร้าเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อยิ่งสร้างอะดรีนารีนมากขึ้นอีก ก็ทำให้ซีโรโตนินลดต่ำมาก ก็โกรธทุกสิ่งรอบตัว จนถึงโกรธตัวเองโทษตัวเอง วิตกกังวล วนคิดเพิ่มขึ้น..... ก็ยิ่งเครียดเพิ่มขึ้น ทำให้สร้างอะดรีนารีนเพิ่มอีก วนลูปเลย - -*)
    สำคัญต้องกินยาเพื่อลดการใช้อะดรีนารีน ก็จะทำให้อาการต่างๆดีขึ้นอย่างรวดเร็ว การไม่ตั้งใจรักษาอย่างจริงจัง มีแต่ทำให้เป็นบ่อยขึ้น สมองหลายส่วนที่เกี่ยวข้องทำงานหนักเกินไป ก็จะได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น และกินยาเพิ่มการใช้ซีโรโตนิน เพื่อลดการวนคิด ช่วยควบคุมระดับโดปามีนและให้สร้างเมลาโทนินได้เพียงพอต่อการควบคุมการนอน..... เมื่อระดับฮอร์โมนต่างๆกลับมาปกติ การวนคิดก็จะหายไปและหายจากอาการอื่นๆด้วยครับ(ความแข็งแรงของร่างกาย ความสุข ความรักและความมั่นใจในตนเองจะกลับมา ตามผลของฮอร์โมนเลยครับ)
    คนไทยพบโรคซึมเศร้าร้อยละ5ครับ (ถ้าในตลาดนัดมีคน300คน ก็พบได้15คนครับ..... เรื่องใกล้ตัวและรักษาได้)

*ในผู้ติดเหล้าหรือยาเสพติด มักพบว่าเกิดจากปัญหาซึมเศร้า ต้องอ่านอาการเมเนียต่อนะครับ จะได้เข้าใจและลดอาการของโรคได้

2. อาการเมเนีย ใช้โดปามีนมากเกินไป(ความสุขความพึ่งพอใจ เสพติด)
   สมองหลั่งโดปามีนมากเกินไป ทำให้เสพติดความสุขความพึ่งพอใจ(ทั้งความคิดและการกระทำ) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นานขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมนอนหลับพักผ่อน.... คล้ายคนที่ดื่มเหล้าไปเรื่อยๆ เพิ่มขนาดเหล้าขึ้นเรื่อยๆ  *เหล้าหรือยาเสพติด ทำให้สมองหลั่งโดปามีนครับ
   ทำให้มีผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น(นอร์อะดรีนารีน) และใช้เมลาโทนินน้อยเกินไป(ไม่ยอมนอน) จึงมีซีโรโตนินสูงในระยะต้น..... ส่งผลให้ตื่นเต้นคึกคัก พูดมากเสียงดัง หิวบ่อย ใช้เงินเกินตัว ให้เงินหรือให้ยืมเงินโดยง่าย(รักและเชื่อใจคนง่าย เนื่องจาก เมื่อโดปามีนหลั่งสูง ออกซิโทซินจะหลั่งสูงตามด้วย) ชอบเอาชนะโดยขาดเหตุผล(การชนะสัมพันธ์กับการหลั่งโดปามีนเพิ่มอีก) แต่เมื่อถูกขัดใจ(โดปามีนหยุดหลั่งทั่นที เกิดภาวะไม่พึ่งพอใจ)ก็หงุดหงิด เกรี้ยวกราด ถ้ามีอาการมากก็จะโวยวายคุ้มคลั่ง ในเวลาหนึ่ง..... พฤติกรรมและการตัดสินใจ จะคล้ายคนเมาเหล้านั่นเองครับ (เมามากเมาน้อย ขึ้นกับความรุนแรงของโรค) แต่ไม่เดินโซเซเหมือนคนที่ดื่มเหล้าจริงๆนะครับ(เมาโดปามีน)
   มีลักษณะอารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดีมากเดี๋ยวร้ายมาก(ตามใจหรือขัดใจ) เมื่อมีปัญหาเครียดแก้ไขไม่ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ก็จะเข้าสู่ภาวะซึมเศร้ารุนแรง(เก็บตัว หมดอาลัย)เพราะ มีสารตั้งต้นของอะดรีนารีนเยอะ(หลั่งโดปามีนเยอะ) ทำให้สร้างอะดรีนารีนได้เยอะตาม
   ถ้าไม่รักษาเลยโดปามีนก็จะหลั่งมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ(สมองส่วนที่เกี่ยวข้องก็จะทำงานหนักเพิ่ม บาดเจ็บเพิ่มขึ้นไปอีก) ทำให้คิดเหนือความจริง เป็นผู้วิเศษหรืออาจมีอาการหวาดระแวง (อาการคล้ายคนติดยาเสพติดรุนแรงนั่นเองครับ) วิธีลดอาการก็คล้ายคนดื่มเหล้าครับ เตือนตัวเองต้องหยุดดื่มแล้วไปนอน แต่ถ้ามีอาการมากหยุดเองไม่ได้ ก็คล้ายผู้ติดยาเสพติดต้องไปพบแพทย์ครับ

    คำเตือน โรคนี้รักษาได้ด้วยการกินยาเท่านั้น จึงจะสามารถฟื้นฟูซ่อมแซมเซลล์สมองได้ แต่ถ้ากินยาแล้วยังมีอาการตื่นเต้นคึกคักมากหรือซึมเศร้ารุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรับขนาดหรือเปลี่ยนยา อย่าหลอกตัวเองและหมอว่าอาการดีขึ้น ทั้งที่ตัวเองมีอารมณ์แปรปรวนอยู่ เพราะ เมื่อมีอาการรุนแรง(เมเนียหรือซึมเศร้า) สมองจะหลั่งฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการเพิ่มตามเวลา และต้องกินยาต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ชีวิตตัวเองและคนรอบข้างก็จะมีความสุขครับ ดีกว่าปล่อยให้ชีวิต อยู่ท่ามกลางอารมณ์กร้าวร้าวรุนแรงจากโรค และผู้ดูแลได้รับผลกระทบจนซึมเศร้าตามไปอีกคน
    หรือนอนนานเกินไป บ่อยเกินไป เพราะเหนื่อยจากการอดนอนเป็นเวลานาน ทำให้ใช้เมลาโทนินมากเกินไป จนซีโรโตนินลดต่ำลง ส่งผลให้ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้เช่นกัน
   เมื่อใช้เอ็มไซม์ AADC มากเกินไป ก็ส่งผลให้ขาดเอ็มไซม์นี้ จึงสร้างซีโรโตนินได้น้อยลง ส่งผลให้ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ทะเลาะเบาะแว้งง่าย ความอยากอาหารลดลง และสร้างเมลาโทนินได้ลดลงตามไปด้วย จึงนอนหลับได้น้อยชั่วโมง
   อาการมักจะเริ่มตั้งแต่วัยรุ่น และเป็นหนักขึ้นตามอายุ(ถ้าไม่รักษา) คนไทยพบโรคไบโพลาร์ร้อยละ1.2ครับ (ถ้าในตลาดนัดมีคน300คน ก็พบได้มากกว่า 6คนครับ เพราะชอบเดินช๊อปปิ้งบ่อยเกินรายได้.... เรื่องใกล้ตัวและรักษาได้)


ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง
(1) โดปามีน (ฮอร์โมนความสุข)..... พบสูง ในอาการเมเนีย หรือใช้ยาเสพติดทุกชนิดนานเกินไป(รวมถึงเหล้าและบุหรี่) หรือเสพติดการชตอ.
(2) นอร์อะดีนารีน..... พบต่ำ ในอาการซึมเศร้า ทำให้รู้สึกหนาว ไม่หิว พบสูง ในอาการเมเนีย ทำให้รู้สึกร้อน หิวบ่อย
(3) อะดีนารีน(ฮอร์โมนหนีภัย)..... พบสูง พบเหตุการณ์ที่ร้ายแรง ต่อร่างกายหรือจิตใจ(กลัวหรือเครียด นานเกินไปหรือรุนแรงเกินไป)
*พ่อแม่ที่โกรธด่าลูก กดดันต่อเนื่อง สมองของลูกบาดเจ็บนะครับ เป็นโรคซึมเศร้าได้ รวมถึงพ่อแม่สามีหรือภรรยา หรือพ่อแม่ของเพศที่3ด้วย
(4) ซีโรโตนิน(ฮอร์โมนควบคุมอารมณ์โกรธ).....  พบต่ำ วนคิด วิตกกังวล ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ไม่หิว หรือใช้เมลาโทนินมากเกินไป จนซีโรโตนินลดต่ำลง(นอนมากเกิน)
(5) ออกซิโทซิน(ฮอร์โมนความมั่นใจในตนเอง ความรัก ผูกพันและเชื่อใจ)..... พบต่ำ ซึมเศร้ามีโดปามีนต่ำ พบสูง เมเนียมีโดปามีนสูง หลั่งจากกิจกรรมที่คนอื่นทำให้มีความสุขความพึ่งพอใจ(คนอื่นทำให้หลั่งโดปามีน) เช่น การสร้างความรู้สึกดีต่อกัน(นี่ล่ะครับ ที่มาของรักออนไลน์ ไม่ได้สัมผัสแต่เจ็บจริง ^0^) การแบ่งปันอาหาร การกอด การนวด การให้นมบุตร และการมีเพศสัมพันธ์ที่สำเร็จ
(6) คอติซอล(ฮอร์โมนระวังภัย) พบสูง โรคซึมเศร้า โรคคุดซิ่ง
(7) กลูคาก้อน และอินซูลิน(ฮอร์โมนควบคุมพลังงาน) ฮอร์โมนทั้ง2เกี่ยวข้องกับ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และการใช้พลังงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย(ทำไมกินยาต้านซึมเศร้า จึงส่งผลให้หิวบ่อยและอ้วนขึ้น อ่านความคิดเห็นที่9ครับ อธิบายให้เข้าใจ พร้อมวิธีแก้ไขครับ)

*ผมไม่ใช้คำว่าสารสื่อประสาทแบบในอดีต เพราะ ปัจจุบันเราจัดโปรตีนเหล่านี้ไว้ในกลุ่มฮอร์โมนครับ เนื่องจาก โปรตีนเหล่านี้มีตัวรับในหลายอวัยวะ(คือ ทำงานเหมือนฮอร์โมนนั่นเอง) และการใช้คำว่าฮอร์โมนอธิบายได้เห็นภาพชัดเจนกว่า เพราะอาการทั้งหมด..... เกิดจากผลต่อเนื่องของฮอร์โมนแต่ละตัวครับ

ปล. ตัวอักษรไม่พอ อ่านการรักษาต่อที่ความคิดเห็นที่3นะครับ

*ไอดีผมมีแค่ 811484 นะครับ ถ้าไอดีอื่นไม่ใช่ผม สำหรับคนที่ปรึกษาทางเมลนะครับ
ยาคลายกังวลหรือยาอื่นๆบางตัว ไม่มีขายในร้านขายยาแน่นอนผิดกฎหมายครับ และแพทย์สาขาอื่น ก็ไม่สามารถให้การวินิจฉัยและจ่ายยาเพื่อรักษาโรคเหล่านี้ได้ ผิดกฎหมายเช่นกันครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การรักษา
1. กินยาต้านซึมเศร้า ลดการวนคิดซ้ำๆ(ลดการใช้อะดรีนารีน ลดการใช้โดปามีน และเพิ่มการใช้ซีโรโตนิน *ยามีหลายชนิดและทำงานในตำแหน่งแตกต่างกันในกระบวนการนี้) กินยาทำให้อารมณ์คงที่(ทำให้เซลล์ในสมองลดการหลั่งฮอร์โมน..... ไม่ให้หลั่งมากเกินไป จนเซลล์บาดเจ็บ)  และกินยาคลายกังวล(ถ้านอนหลับไม่สนิท) เพื่อพักผ่อน ได้ฟื้นฟูซ่อมแซมเซลล์สมองและเซลล์ร่างกายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้
*ถ้ายาคลายกังวลมีฤทธิ์8-9ชม.เช่น โคนาซีแปม ก็ต้องนอนให้ครบเวลา8-9ชม.นะครับ จึงจะไม่ง่วงเบอลมึนงงเพราะฤทธิ์ของยา.... เหมือนที่คนไทยเชื่อกันไปผิดๆว่า เป็นผลข้างเคียงของยา จริงแล้วนอนไม่ครบเวลามากกว่าครับ แนะนำถ้าต้องตื่น6-7โมงเช้า ควรกินยาตอน4ทุ่ม(ยาจะมีฤทธิ์สูงอยู่ในร่างกายคุณ8-9ชม.) จะเริ่มง่วงมากประมาณ5-6ทุ่ม..... พอเริ่มทำงาน8โมงเช้า ยาลดฤทธิ์แล้วครับ(ไม่เบลอแล้ว มีความตื่นตัวกระฉับกระเฉง)
*ยาคลายกังวลแต่ละตัวมีเวลาในการออกฤทธิ์ และความยาวนานของฤทธิ์แตกต่างกัน

2. กินอาหารให้ครบตามกระบวนการ (อะมิโนอะซิดต่างๆ วิตตามินC B5 B6 B12 และแร่ธาตุZn Mg) เช่น ไข่แดง กล้วยหอม เนื้อสัตว์ (ห้ามขาด)

3. หยุดพฤติกรรม ที่ใช้โดปามีน หรืออะดีนารีน หรือเมลาโทนินมากเกินไป
* ตรงนี้สำคัญ เมื่อเข้าใจการทำงานของสมอง ก็จะเข้าใจว่า ผู้ป่วยจะต้องหยุดการคิดซ้ำๆ(เป็นเวลานานเกินไป)ให้ได้ ไม่ว่าเรื่องดีเกินจริงหรือเรื่องร้ายในอดีต หรือเรื่องกังวลในอนาคต หรือหยุดการเสพติดต่างๆ และหยุดการนอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป(ควรนอนวันละ7-8ชม.)
*อะไรก็ตามที่นานเกินไป คือ ตัวทำให้สมองส่วนนั้นๆทำงานหนักจนได้รับบาดเจ็บ ก่อให้เกิดอาการของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง
*จัดการกับความเครียด แยกปัญหา(ปัญหาแก้ได้หรือไม่ได้) ถ้าแก้ไม่ได้ต้องเบี่ยงเบนเรื่องคิด เพื่อให้สมองส่วนอื่นทำงานแทน(ส่วนที่เครียด)

4. พยายามออกกำลังกายประมาณ40นาที(ให้เหงื่อออก)
    ตามธรรมชาติร่างกายจะหลั่งอะดรีนารีนเมื่อมีภัยอันตราย ทำให้เพิ่มการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดลม และมีผลเพิ่มฮอรโมนคอติซอล กลูคาก้อน ทำให้เกิดการเตรียมน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ และคอติซอลยังทำให้สมองไวต่อสิ่งเร้า เพื่อเพิ่มความระวังภัย ทำให้ตื่นตัวตกใจง่าย หลับไม่สนิท และนอนได้ลดลงเนื่องจากเมลาโทนินต่ำ..... สำหรับเตรียมพร้อมต่อการสู้หรือวิ่งหนีภัย
    แต่ภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากความกลัวหรือเครียดต่อเนื่อง ร่างกายไม่ได้ต่อสู้หรือวิ่งหนีจริงๆ  จึงไม่ได้ใช้ฮอรโมนและน้ำตาลเหล่านี้ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียดต่ออวัยวะต่างๆ สะสมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เครียด ทำให้เซล์สมองและเซลล์ร่างกายที่เกี่ยวข้องแย่ลงตามเวลาด้วย..... ดังนั้น การออกกำลังกายทำให้ร่างกายสามารถใช้ฮอรโมนหรือน้ำตาลเหล่านี้ไป(เสมือนได้ต่อสู้หรือวิ่งหนีจริงๆ) ส่งผลให้ร่างกายคืนสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นนั่นเองครับ (ซึมเศร้าต้องออกกำลังกายนะครับ)

*จากการทดลองโดยการช๊อตสุนัขด้วยไฟฟ้าในกรงขังเป็นระยะ
- สุนัขที่นอนนิ่งต่อการช๊อต(ตอบสนองแบบแกล้งตาย) มีภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงและยาวนาน พบบางตัวเมื่อเปิดกรงให้หนีได้แต่ไม่หนี(หมดอาลัย)..... พบสารตั้งต้นลดต่ำลงมาก(โดปามีน นอร์อะดรีนารีน ซีโรโตนิน กาบ้า)
- สุนัขที่ต่อสู้เห่ากัด(ตอบสนองแบบสู้หรือหนี) มีภาวะซึมเศร้าสั้นกว่า สุนัขทั้งหมดหนีจากกรงขังทันทีเมื่อเปิดกรง

5. สำหรับผู้ป่วยบางคน ถ้ารักษาด้วยการกินยาปรับฮอร์โมนนานเพียงพอ แต่อาการของโรคยังคงอยู่หรือเพิ่มขึ้น ก็ต้องทำการบำบัดด้วยครับจึงจะหาย
    การทำบำบัด คือ การสอนวิธีและให้นำสิ่งที่เรียนรู้ ไปฝึกปรับเปลี่ยนความคิด(ความคิดอัตโนมัติที่เกิดขึ้นทันที เมื่อมีสิ่งกระตุ้น) ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่มากเกินความจริง ทำให้เกิดพฤติกรรมตอบสนองเกินความจริง และทำให้เกิดอาการทางกายต่างๆตามมาด้วย(หลั่งอะดรีนารีนหรือโดปามีนมากเกินไป จนทำให้ซีโรโตนินลดต่ำ ก็วนคิดเพิ่มขึ้นและควบคุมความโกรธได้ลดลง ก็ยิ่งทำให้เครียดเพิ่มหลั่งอะดรีนารีนเพิ่มอีก อาการทางกายก็เพิ่มตาม - -*)
*มนุษย์มักมีความเชื่อว่า ความคิดอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ถูก..... แต่ความจริงแล้ว มันมีทั้งถูกและไม่ถูกครับ(ต้องฝึกที่จะคัดกรองความคิด)
    ความคิดอัตโนมัติเหล่านี้มีสาเหตุจาก ความเชื่อระดับกลาง(ความเชื่อแบบมีเงื่อนไข เช่น กฎเกณฑ์ต่างๆที่ถูกสอนมาผิดๆ ทัศนคติผิดๆ หรือการคาดการณ์ที่ร้ายหรือดีเกินความจริง) หรือความเชื่อระดับลึก(ความเชื่อที่ฝั่งรากลึกในตัวบุคคลที่ผิด)..... ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ มีที่มาและสามารถสืบค้นได้จากประวัติในอดีต(สภาพแวดล้อมหรือการเลี้ยงดูสั่งสอน ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตจนทำให้เกิดโรค)
    การรักษาจะใช้วิธี ฝึกเปลี่ยนความคิด ฝึกเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปรับสภาวะแวดล้อมที่มากระทบให้ลดลง ร่วมกับใช้ยาปรับระดับฮอร์โมน
ถ้าสามารถรักษาจนเปลี่ยนความเชื่อที่ฝั่งรากลึกในตัวบุคคลได้ ก็จะหายจากโรคเหล่านี้อย่างมั่นคงยาวนานครับ เช่น ซึมเศร้า ไบโพล่าร์ แพนนิค วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ PTSD บุคลิกภาพแปรปรวน และอื่นๆ

*การบำบัดก็ประมาณโค้ทกีฬาคือ โค้ทจะสอนให้แก้ไขท่าพื้นฐานหรือสอนเทคนิคใหม่ที่พบในปัจจุบัน และให้นักกีฬานำไปใช้ในการแข่งเอง เช่น สอนกระโดดให้ถูกท่า เพื่อลดโอกาสบาดเจ็บเนื่องจากลงผิดจังหวะ..... ซึ่งเกิดจากในอดีตนักกีฬาถูกสอนจากท่าต้นแบบที่ผิด หรือหัดเล่นกีฬาแบบลองถูกผิดเอง ก็ต้องแก้ไขท่าเหล่านั้นให้ถูกหรือใช้เทคนิคใหม่ที่ดีกว่า ก็จะลดโอกาสบาดเจ็บบ่อยๆครับ..... โรคเหล่านี้ก็เช่นกัน ถ้าใช้ความเชื่ออย่างถูกต้อง ถูกยุคสมัย(อย่าไปเชื่อความคิดอัตโนมัติจากประสบการณ์ในอดีตเป็นหลัก)และให้เวลาเพียงพอกับการฝึก ก็จะลดอาการต่างๆและประสบความสำเร็จในการรักษาแน่นอนครับ(มันทำให้ใช้ชีวิตราบรื่นกว่า การใช้ชีวิตลุ่มๆดอนๆตามอาการของโรคครับ)

    


ปล. หวังว่าจะช่วยให้เข้าใจการทำงานในสมอง จนสามารถหยุดอาการของโรคได้นะครับ ^^
ผมคิดว่า คนรุ่นเก่าและครอบครัวน่าสงสารนะครับ ไม่มียารักษาและขาดความรู้ที่จะลดอาการของโรค เมื่ออาการหนักขึ้น ก็ทำร้ายทั้งตัวเองและทำร้ายจิตใจคนในครอบครัวเพิ่มตามไปด้วย และไม่ยอมรักษา..... แต่คนรุ่นปัจจุบันหรือเด็กรุ่นใหม่ มีทั้งยาและความรู้ที่จะลดอาการของโรค อย่าปล่อยให้ฮอร์โมนเหล่านี้ มาทำร้ายตัวเองและครอบครัวครับ


สรุปนะครับ มันเป็นเรื่องของฮอร์โมน(ไม่ว่าผลิตจากสมองหรือต่อมไร้ท่อ) ถ้าควบคุมระดับฮอร์โมนได้ ก็จะไม่มีอาการมารบกวนการใช้ชีวิตครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
การทดลอง ยิ่งห้าม ก็ยิ่งคิด
*นำบทความ The White Bear Effect มาจาก BipolarFC https://www.facebook.com/bipolarfc

ผู้ป่วยมีอาการทางจิตหลายคน มักจะมีความพยายามที่จะกดความคิดที่ไม่ดีไม่ให้ผุดขึ้นมา หรือพยายามห้ามตัวเองไม่ให้คิดในสิ่งที่ตัวเองไม่พึงประสงค์ แต่อย่างไรก็ตาม ยิ่งห้ามในความคิดเรื่องใด เรื่องนั้นก็จะยิ่งผุดมาในห้วงแห่งความคิดเสมอ
อาการเยี่ยงนี้ มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า "The White Bear Effect" หรือปรากฏการณ์หมีขาว

เนื่องจากในปี 1985 นักจิตวิทยา แดเนียล เวกเนอร์ ได้ทำการทดลอง และการทดลองนั้นก็เป็นไปโดยง่าย โดยมีคำสั่งว่า "ภายในเวลาห้านาทีต่อไปนี้ โปรดอย่าได้คิดถึงหมีขาวเลย"
ผลของการทดลองนั้นจบลงเช่นเดิมทุกครั้ง
ยิ่งผู้คนพยายามจะห้ามคิดเรื่องหมีขาวเท่าใด ผู้คนเหล่านั้นก็ยิ่งคิดถึงหมีขาวเท่านั้น และผู้คนที่มีความพยายามที่จะไม่คิดถึงหมีขาว กลับคิดถึงหมีขาวมากกว่า ผู้คนบางคนที่พยายามคิดถึงหมีขาวเสียอีก





ปล. ใช้เซลล์สมองส่วนอื่น แทนเซลล์สมองที่เกี่ยวกับความเครียดได้ อาการก็จะลดลงครับ
สมมุตินะครับ
- ถ้าคุณใช้เวลาคิดเรื่องเครียดซ้ำๆ 3ชม.
- ในเวลาเท่ากัน ให้คุณกระโดดขึ้นลงๆอยู่กับที่ 3ชม.(คุณคิดว่า เซลล์กล้ามเนื้อขาและเซลล์เข่าของคุณ จะได้รับบาดเจ็บไหมครับ)

ตามปกติที่ผิวเซลล์จะมีประจุลบ เมื่อเซลล์จะหดตัวหรือหลั่งฮอร์โมน จะต้องมีการนำประจุบวกเข้าเซลล์(เช่น Na+ในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบหรือ หรือCa+ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ)
ในโรคซึมเศร้าและเมเนียพบว่า เซลล์มีการทำงานหนักและมีการนำเข้า Na+เยอะเกินไป ทำให้หลั่งฮอร์โมนเยอะ จึงจำเป็นต้องกินยาที่ทำให้ Na+ เข้าเซลล์ได้น้อยลงครับ ก็จะทำให้เซลล์หลั่งฮอร์โมนลดลง และอาการผู้ป่วยก็จะดีขึ้น

(อย่าหยุดยาเองหรือหยุดไปหาหมอเองนะครับ เพราะจะมีแต่ทำให้อาการต่างๆเพิ่มขึ้น พยายามบอกอาการหมอให้ครบ อย่าปกปิดอาการ เพื่อให้หมอประเมินความรุนแรงของโรคได้ถูกต้อง และจ่ายยาตามระดับความรุนแรง ก็จะหายจากอาการได้รวดเร็ว ใช้ชีวิตได้มีความสุขและความรักตามปกติได้เร็วขึ้นครับ) ^^
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่