ภาพถ่าย 11 อาชีพที่ไม่มีคนทำอีกแล้ว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Goodbye - Air Supply



ผลพวงจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าเดิมมาก
จึงได้เข้ามาทำหน้าที่แทนคนทำอาชีพดังกล่าว
ทำให้ไม่มีคนงานทำอาชีพดังกล่าวนี้อีกแล้ว

1. เด็กวางลูกพิน



เด็กชายจะถูกจ้างให้มาวางลูกพิน  
สำหรับลูกค้าที่มาเล่นโบว์ลิ่ง
(สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องจักร
ตั้งลูกพินอัตโนมัติเหมือนปัจจุบัน)


2. คนปลุกตอนเช้า







คนเคาะบานหน้าต่างด้านบน  
เพื่อปลุกคนว่าจ้างให้ไปทำงานทันในตอนเช้า
ด้วยการใช้ไม้เท้า ไม้ขนาดยาว หรือหลอดเป่าเมล็ดพืช
เคาะเรียกที่ประตูหรือหน้าต่าง
(สมัยก่อนนาฬิกาปลุกราคายังแพงมาก
สำหรับคนทั่วไปที่จะซื้อมาประจำบ้าน)


3. คนตัดน้ำแข็ง



ก่อนที่ตู้เย็นจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย  
คนงานจะตัดน้ำแข็งในทะเลสาบ
ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น
และเป็นงานที่อันตรายพอสมควร
เพื่อนำไปขายให้กับผู้บริโภคนำไปเก็บไว้
ในห้องใต้ดิน หรือห้องทำความเย็น


4.  นักฟังเรดาร์ เพื่อฟังเสียงเรือบินศัตรู



ก่อนการประดิษฐ์เรดาร์ได้สมบูรณ์กว่านี้
ต้องใช้คนฟังเสียงเรือบินที่กำลังบินมา
ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่มีความไวสูง
ช่วยในการรับฟังเสียงเครื่องยนต์เรือบิน


5. นักล่าหนู





นักล่าหนูมีการว่าจ้างกันในยุโรป
เพื่อควบคุมจำนวนประชากรหนู
เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง
จากการถูกหนูกัดหรือติดโรคร้าย
แต่มีส่วนช่วยควบคุมจำนวนหนู
ไม่ให้แพร่กระจายมากในที่สาธารณะ


6. คนจุดตะเกียงน้ำมัน







คนจุดตะเกียงใช้ไม้ยาว
ในการจุด/ดับตะเกียงน้ำมัน และเติมน้ำมัน
ก่อนที่ไฟฟ้าจะเข้าแทนที่คนงานเหล่านี้

นึกถึงคนจุดตะเกียงน้ำมันที่ซื่อสัตย์
ในหนังสือเรื่อง เจ้าชายน้อย
ที่ต้องจุด/ดับตะเกียงน้ำมันเร็วขึ้นในทุกวัน
เพราะดาวเคราะห์น้อยหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้น
เจ้าชายน้อยแนะนำให้เขาเดินย้อนกลับทางทิศตะวันออก
จะได้ไม่ต้องจุด/ดับตะเกียงน้ำมันหลายรอบในแต่ละวัน
แต่คนจุดตะเกียงน้ำมันไม่ยอมทำตาม
เพราะซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง






7. คนส่งนม



ก่อนที่ตู้เย็นและระบบถนอมอาหาร
จะเข้ามาแทนที่คนงานเหล่านี้
พวกเขาต้องส่งนมให้กับลูกค้า
ที่สั่งซื้อเป็นประจำทุกวัน
มิฉะนั้นนมอาจจะเน่าเสียได้


8. คนขับไม้ซุง



ก่อนที่เทคโนโลยีหรือโครงสร้างพื้นฐาน
จะเข้ามาขนย้ายไม้ซุงแทนด้วยรถประเภทต่าง ๆ
คนขับไม้ซุงจะทำหน้าที่ในการผลัก/ดัน
ให้ไม้ซุงจากแหล่งตัดไม้ซุง
ไปส่งยังพื้นที่แปรรูปไม้ซุงเหล่านี้

เมืองไทยสมัยก่อนมีคนงานแบบนี้
ที่แถวบางโพกรุงเทพฯ
ในการคัดไม้ทะยอยเข้าโรงงาน
เคยอ่านพบในหนังสือว่า
เป็นอาชีพอันตรายมาก
ถ้าลื่นล้มลงในแม่น้ำ
อาจถูกซุงกระแทก
หรือหาทางขึ้นไม่เจอ


9. พนักงานตัดต่อคู่สายโทรศัพท์



การเสียบสายโทรศัพท์ในสวิทช์บอร์ด
เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในสมัยก่อน
ในการตัดต่อคู่สายโทรศัพท์ทางไกล/โทรศัพท์พื้นฐาน(บ้าน)
ก่อนที่เทคโนโลยีจะเข้ามาทำหน้าที่นี้แทนคนงาน
ส่วนในปัจจุบันเป็นระบบดิจิตอลทำหน้าที่นี้แทน

ถ้าจำไม่ผิดสมัยก่อนตอนเด็ก ๆ ก่อนปีพ.ศ.2519
ที่ ห.ใ หาดใหญ่  รถไฟใช้เรียกแทน ห.ญ.
ป้องกันคนงาน/เพื่อนร่วมงาน/ชาวบ้าน
ล้อเลียนภริยาหัวหน้าว่า คุณนาย ห.ญ.

จำได้ว่าเวลาจะโทรศัพท์ทางไกลเข้ากรุงเทพฯ
ต้องไปที่ชุมสายโทรศัพท์หาดใหญ่
ตั้งอยู่ตรงข้ามหอนาฬิกา(ตลาดสด)
เพื่อให้พนักงานโทรศัพท์
ต่อสายทางไกลเข้ากรุงเทพฯ

ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
ใช้ตัวย่อว่า ญ.ว.
ตอนแรกทางอำมาตย์จากกระทรวงศึกษาธิการ
ทั้งส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
ให้ใช้ตัวย่อตามหลักการย่อชื่อคือ ห.ว.

แต่ทางอาจารย์กับผู้ปกครองนักเรียน
ไม่ยอมให้ใช้ตัวย่อมี ห. นำโดยเด็ดขาด
เสนอให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน
หรือถ้าไม่ทำตามจะไม่ส่งลูกเข้าเรียน
เพราะอับอายกับชื่อย่อแบบนี้มาก
หรือเป็นเรื่องอุบาทว์อย่างแรง

คำว่า อุบาทว์ ในภาษาใต้ ความหมายเดิม
นายหนังตะลุงมักใช้ด่าตัวตลกด้วยกันหรือ
ตัวพระตัวนางใช้ด่าตัวตลกหรือฝ่ายตรงข้าม
เป็นถ้อยคำที่จัดว่ารุนแรงมากถ้าใช้คำนี้ด่า
หมายถึง ชั่วร้ายเลวทรามอย่างแรง (มากมายเหลือล้น)

ส่วนอีกโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์
ใช้ชื่อย่อว่า ญ.ร.ส.


10. คนลักขุดศพ



คนลักขุดศพ หรือ คนฉวยโอกาส
มักมีการว่าจ้างกันในช่วงศตวรรษที่ 19
เพื่อขุดศพไปทำการศึกษาในมหาวิทยาลัย
เพราะศพที่ถูกต้องตามกฎหมายหายากมากและมีน้อย
ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงต้องอาศัยการพึ่งพา
จากคนภายนอกเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาศพ

จำได้ว่าไทยเคยมีข่าวลงในหน้าหนังสือพิมพ์
ว่ามหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง
ได้จัดส่งศพดองน้ำยาทางเรือบรรทุก
ออกนอกประเทศไปแถวอาหรับ
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา
เพราะที่นั่นศพใช้ในการศึกษาหายากมาก
ตามประเพณีที่ต้องฝังศพภายในยี่สีบสี่ชั่วโมง
แต่ที่ไทยมีศพไร้ญาติที่ดองไว้เป็นจำนวนมาก
นอกเหนือจากศพที่บริจาคเพื่อการศึกษา


11. คนอ่านหนังสือ



โดยทั่วไปมักจะเป็นนักพูด
แต่อีกนัยหนึ่งคือ คนอ่านหนังสือ
คนงานมักจะลงขันกันว่าจ้าง
ให้มาอ่านหนังสือฝ่ายซ้าย
หรือเอกสารตีพิมพ์ของสหภาพแรงงาน
ในห้องทำงานขนาดใหญ่ที่ใช้มือทำงาน

เมืองไทยพัฒนาเป็นรูปแบบ
การฝึกอบรม/สัมมนา
หรือมีกิจกรรมใหม่ ๆ ทุกปี
เช่น ISO  new version
9ส. 360 องศา รีรีข้าวสาร(reengineering)
เพื่อกระตุ้น/เขย่าให้พนักงานทำงาน
หรือมีนักจิตวิทยาบำบัดหมู่
หรือนิมนต์พระมาเทศน์
ทำหน้าที่คลายเครียดพนักงาน
อบรมศีลธรรมจรรยาให้พนักงาน

ห้างสรรพสินค้า/ร้านค้าบางแห่ง
คนขายสินค้าแบรนด์แนมที่ตนเองขาย
รายได้ไม่เพียงพอกับการซื้อสินค้านั้น
มักมีอาการเครียดหรืออยากได้ของมาก
จึงต้องมีการบำบัดทางจิตวิทยาประกอบ
(ข้อมูลจากอาจารย์ท่านหนึ่งที่ไปทำหน้าที่นี้
ในห้างสรรพสินค้าชื่อดังมากแห่งหนึ่งเป็นประจำ)

ส่วนในหน่วยงานขนาดใหญ่/ทั่วไป
พอทำงานไปซักพัก
พนักงานมักมีอการเบื่อหน่าย/เฉื่อยชา
จึงต้องหา tools ใหม่ ๆ แปลก ๆ
จากเมืองนอกมากระตุ้น/เขย่าให้คนงาน
ต้องกระตือรือร้นและขยันทำงานขึ้น
(ข้อมูลลึกๆ จากวิทยากรมืออาชีพ
ที่ผมสนิทสนมเป็นการส่วนตัว)


เรียบเรียงจาก
http://9gag.com/gag/azbZxmq
http://translate.google.co.th/#en/th/
http://dict.longdo.com
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่