ปราสาทบายน มนตราศิลาทราย @ นครวัด นครธม : กัมพูชา

วันนี้แล้วซินะ วันที่จะได้เห็น ได้สัมผัส
มหาปราสาท เทวสถานทียิ่งใหญ่ ศาสนสถาน ที่ได้การยกย่องให้เป็น
1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

ความเดิมตอนที่แล้วค่ะ "โตเลสาบ แก้มลิงธรรมชาติของคนเขมร"
(http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=jinnytent&month=04-2013&date=24&group=4&gblog=14)

ตรวจสอบกล้อง แบตเตอรี่ เลนส์ และเมมโมรี่การ์ด ทั้งประจำเครื่องและสำรอง
กันพยศของ คู่หูตัวใหม่ Canon 650D กับ ตัวเล็ก Panasonic TZ15 ติดตัวไว้ฉุกเฉิน
ก็มันตื่นเต้น ดูแล้วดูอีก กลัวพลาดช่วงเวลาที่รอคอย อิอิ

ที่สำคัญ บัตรประชาชนคนเขมร อย่าลืมเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นต้องกลับไปทำใหม่
เพราะถ้าไม่มีบัตร เค้าไม่ยอมให้เข้าชมเด็ดขาด จะมีเจ้าหน้าที่ขึ้นมาตรวจบนรถ
ระหว่างรอเข้าประตูปราสาท แต่ถ้าเจ้าหน้าที่เค้าสงสัย
ตัวจริง กับ รูปในบัตรไม่เหมือนกัน อันนี้เคลียร์เอากันเอง 55

ดอกไม้ยิ้มดอกไม้ ยิ้มดอกไม้



จากโปรแกรมเดิม เราจะต้องชม ปราสาทบันทายศรี ก่อน  แต่เนื่องจากกลัวลูกทัวร์จะร้อน พี่ไกด์เลยปรับเปลี่ยนโปรแกรมนิดหน่อย
ให้เราชมไฮไลท์ของ กลุ่มปราสาทในนครธม ก่อน นั่นก็คือ ปราสาทบายน แล้วค่อยไป ปราสาทตาพรหม



ก่อนจะข้ามสะพาน มีห้องน้ำให้เข้า แนะนำให้เข้าก่อนนะคะ  ถ้าไม่ทัน ก็จะมีห้องน้ำในวัดด้านในด้านซ้ายของประตูเมืองอีกที่หนึ่ง
ถ้าปวดอย่ารอ ถึงแม้ห้องน้ำไม่ได้แย่เหมือนเมืองจีน แต่ก็ไม่มีให้เข้าบ่อยนัก

มีของขาย เป็นพวกเสื้อผ้าส่วนใหญ่ เป็นพวกผ้าบาติก หรือ เสื้อยืดสกรีนลายปราสาทบายน อย่าเพิ่งซื้อนะคะ
เดี๋ยวจะเที่ยวแบบมีสัมภาระไม่สนุก ราคาไม่ต่างถนนคนเดิน  หรือ ตลาดไนท์บาร์ซ่าในตัวเมืองเสียมเรียบ เผลอ ๆ จะแพงกว่าซะอีก



การเข้าชมปราสาทในนครธม ถ้ามากับบริษัททัวร์จะต้องเปลี่ยนรถนั่งชม  รถทัวร์จะส่งตรง ประตูทิศใต้
ซึ่งเป็น ประตูที่มีรูปปั้นค่อนข้างสมบูรณ์ กว่าทิศอื่น   เศียรของเทพและอสูร ที่ฉุดพญานาคค่อนข้างเกือบครบ

เราต้องเดินผ่าน สะพานนาคราช ผ่านประตูเมือง เพื่อที่จะนั่งรถของเจ้าหน้าที่ในนครธม ไปชมปราสาทอีกต่อหนึ่ง
ระยะทางจากประตูถึงตัวปราสาท ประมาณ 1.5 กิโลเมตร  ส่วนรถทัวร์ จะไปรับ ณ จุดนัดพบ เพื่อพาไปยังปราสาทตาพรหมต่อ



สะพานนาคราช มีความยาวประมาณ 100 เมตร  ด้านหนึ่งเป็นศิลาสลักเป็นรูปเทวดากำลังฉุดพญานาคขนาดใหญ่
ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรูปอสูรซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เท่าของคนจริงถึง 108 ตน



เดินผ่าน สะพานนาคราช หาจังหวะถ่ายรูปที่ไม่เจอหัวคนแสนยากเย็น  นี่ขนาดมาเช้า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการทำบัตรประชาชน
คนเขมร เพื่อเข้าชมปราสาทเนื่องจากทำเสร็จตั้งแต่เมื่อวานเย็น  แต่ก็ยังผจญกับฝูงนักท่องเที่ยวที่หลังไหลเข้ามาไม่ขาดสาย คึกคักกันจริง ๆ



ประตูเมือง ที่มียอดปรางค์เป็น รูปพระโพธิสัตว์หันพระพักตรไปทั้งสี่ทิศ จำนวนสามยอด  ปรางค์เหนือประตูเมืองเปรียบเสมือน
เขามันทระ ที่ใช้ในการกวนเกษียรสมุทร  ช่องทางเข้าประตูเมืองแคบมาก ขนาดรถตู้ผ่านได้หนึ่งคันพอดิบพอดี
นี่เอง ที่ทำให้ขบวนนักท่องเที่ยว ทั้งเดิน ทางนั่งรถสกายแลบ ต่อคิวกันยาวเหยียด



นี่ค่ะ รถบัสนำเที่ยวภายใน นครวัด  เห็นพี่ไกด์แอบบ่นว่า มันเป็นระบบการจัดการเพิ่งจะมีบริษัทเอกชนเข้ามา ทำให้ขั้นตอนในการเข้า
ชมยุ่งยากกว่าเดิม  ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง กลัวคิ้วจะขมวด ต้นเหตุริ้วรอยทำให้ถ่ายรูปไม่สวย อิอิ  แต่การเปลี่ยนรถแบบนี้
มันก็ทำให้เสียเวลารอรถที่นำชมในปราสาทร่วมชั่วโมงเลย



ก่อนจะรู้จัก ปราสาทบายน มารู้จัก นครธม กันก่อนนะคะ     นครธม คือ เมืองหลวงสุดท้ายของ อาณาจักรขอมโบราณ  
สร้างในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงต้นคริสศตวรรษที่ 13 หรือในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร หรือกว่า 5,000 ไร่

และศูนย์กลางของนครธม ก็คือ ปราสาทบายน   ที่เราจะไปชมเป็นปราสาทแรกในวันนี้ นั่นเอง



ลักษณะเมืองนครธม เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ล้อมรอบด้วยกำแพงสูงทั้งสี่ทิศ  ตั้งอยู่ในเมืองพระนคร ตรงกลางกำแพงแต่ละด้าน
มีประตูหนึ่งประตูเท่านั้น  ยกเว้น ทิศตะวันออกมีสองประตู ซึ่งแต่ละยอดประตูเป็นพรมหมสี่หน้าจำนวนสามยอด

ปลอดคน ได้การละ จัดไปหนึ่งแชะ เป็นหลักฐานว่า ฉันเก็บความฝันได้อีกหนึ่งแล้ว เย้ๆ



ตัวปราสาทบายน หันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก ประกอบด้วย  ปรางค์ใหญ่น้อย จำนวน 54 ปรางค์
แต่ละปรางค์สลักเป็นรูปเทวพักตร 4 หน้า  แต่เฉพาะองค์ปรางค์ประธานองค์กลาง มีรูปใบหน้าอยู่ทั้ง 8 ทิศ  รวมแล้วราว ๆ 200 กว่าหน้า



ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ดูแล้วไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ไม่มีการบูรณะ หรือ ดูแลจิตรกรรมฝาผนังปราสาทบายนเท่าที่ควร
เพราะไม่มีเชือกกั้น เหมือนกับจิตรกรรมฝาผนังใน นครวัด



ปราสาทบายน เป็น ปราสาทแห่งเดียวที่ไม่มีกำแพง  แต่ใช้กำแพงเมืองนครธมแทน พื้นที่ของปราสาทบายนวัดจากระเบียงนอกสุด
กว้าง 156 เมตร ยาว 141 เมตร ความสูงวัดจากยอดปรางค์องค์กลาง 72 เมตร    ถ้าจะชมกันให้ทั่วจริง ๆ เฉพาะปราสาทบายน
ว่ากันไม่ต่ำกว่าสองชั่วโมง เพราะแต่ละซอกมุมของปราสาท น่าชม น่าเดินไปหมด จริง ๆ นะคะ



เริ่มต้นเดินเข้าชม เราเลือกชมประตูทางขวามือ หรือ ทิศใต้ก่อน  ตรงซุ้มประตูจะมีองค์พระพุทธรูป ให้กราบสักการะบูชา
พร้อมกับคนผูกข้อมือให้ อันนี้แล้วแต่ศรัทธาค่ะ    ส่วนตัวฉัน เลือกที่พนมถืออธิฐานแล้วจะหย่อนเงินในกล่องบริจาค แล้วค่อยเดินผ่าน
แม้จะก้ำกึ่งกับพิธีการที่นี่ แต่พลังศรัทธาพระพุทธศาสนายังเต็มเปี่ยม



ปราสาทบายน เป็น ปราสาทหินที่งดงามมากที่สุดในบรรดาปราสาทในนครธม  เป็นศูนย์กลางของนครธม
เป็น สุดยอดประสาทของเขมรในยุคเสื่อม หรือ ในยุคของประเจ้าชัยวรมันที่ 7



โดยการเอาหินมาวางซ้อน ๆ กัน แล้วขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง มีความแข็งแรง  มีจังหวะถ่ายรูปเพียงน้อยนิด เพราะต้องทำเวลาปีนป่ายปราสาท
ไปชั้นสอง ทำความคุ้นเคยกับการเดินในปราสาท ที่ค่อนข้างมืด และสูงชั้น ในบางจุด แต่อากาศโปร่ง ไม่อึบและไม่เหม็นค่ะ



วันนี้มี "น้องมี" น้องศึกษาหารายได้พิเศษ ประกบกรุ๊ปทัวร์เพื่อถ่ายรูปให้  แม้ไม่ค่อยอยากใช้บริการแบบนี้นัก เพราะจากประสบการณ์
รูปที่ได้มามักจะมีราคาแพง  และถ้าไม่เอาก็กลัวเค้าจะเอาไปทำไม่ดี

แต่ทริปนี้ เป็นกรณีพิเศษ เพราะไม่มีเพื่อนร่วมก๊วนติดตามมาด้วย  ริฉายเดี่ยวแต่อยากมีรูป ก็จำต้องใช้บริการ น้องมี นี่แหละ
ไม่อย่างนั้น ก็จะไม่มีภาพตัวเอง เก็บไปเป็นที่ระลึกยามนึกถึง



อีกซักรูป ประชันระหว่าง ใบหน้าเปื้อนยิ้ม ของสาวเมืองเจียงใหม่ ไทยแลนด์
กับ รอยยิ้มแบบบายน ของใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกเตศวร กัมพูชา ^^



เชื่อกันว่า รอยยิ้มแบบบายน บนใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกเตศวร นั้น คือ ยิ้มแบบมีเมตตา กรุณา หรือเชื่อกันอีกอย่างว่า
เป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อันแสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ ที่มีไปทั่วทุกสารทิศ ด้วยทรงถือว่า
พระองค์ทรงอวตารมาจากพระโพธิสัตว์บนโลกมนุษย์ นั่นเอง



พระพักตร์ที่หันออกไปทอดพระเนตรความเป็นไปและทุกข์สุขของประชาชนทั้งสี่ทิศ ในที่สุด ก็มาเห็นกับตาแล้ว
รอยยิ้มอันเป็นเอกลักษณ์ของเขมร ตอนแรกก็ตั้งใจจะนับอยู่หรอก แต่ถ้าให้อยู่นับ ก็ต้องแช่กันอยู่เป็นวัน ๆ อิอิ



ระหว่างเดินชมปราสาทบายน รู้สึกว่ามีคนคอยจ้องมองสะกดรอยตามตลอดเวลา ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ก็จะเจอใบหน้าเปื้อนยิ้มแบบบายน
คอยส่งยิ้มให้   และมุมนี่เอง ทำให้นึกเลนส์อีกตัวที่พกด้วย แต่หาจังหวะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ซักที   อยากได้ภาพมุมกว้างก็อยาก
อยากซูมภาพใบหน้าเห็นรอยยิ้มบายนแบบชัด ๆ ก็อยาก ริอยากจะถ่ายรูปเก่ง ๆ แต่ความขี้เกียจเปลี่ยนเลนส์มันมีมากกว่า



มุมนี้ เป็นมุมที่ น้องมี จัดสรรให้ บอกพี่ยืนตรงนี้ เหมือนจุจุ๊บ กับใบหน้าของพระโพธิสัตว์เลย
แม้ดั้งไม่ค่อยมีเหมือนใครเขา ก็ยังอยากจะได้ภาพมุมแปลก  ยืนต่อคิวอย่างไม่รังเกียจรังงอน ไหน ๆ ก็มาแล้วนินา เจ้าถิ่นว่าไง พี่ก็ว่าตาม



ที่นี่ ไม่ต้องรอให้น้องมีกวักมือเรียก กลับเป็นฝ่ายเรียกน้องมีแทน  เห็นน้องมีที่ไหน เป็นต้องเรียก มีๆๆ ตรงเนี่ยมุมสวย ถ่ายให้หน่อยนะ
โพสต์ท่าน้องมีแชะเสร็จ ก็ทำเวลากดชัตเตอร์จากกล้องตัวเองมั้ง ชนิดที่ว่า ขาก้าว พร้อม ๆ กับลั่นชัตเตอร์ รั่วแบบไม่ต้องเล็ง
ส่วนภาพที่ได้ค่อยว่ากัน





มัวแต่หามุมสวย อดได้กราบมมัสการ พระชัยพุทธมหานาค  ซึ่งเป็น พระพุทธรูปนาคปรกศิลาขนาดใหญ่มาก
ถือว่าเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7    แต่ก็ไม่ลืมที่เก็บภาพ นางอัสปรา ประจำปราสาทบายน
ไม่มีเวลาเลือก อัปสรา คนไหนสวย เพราะดูไปแล้ว สวยเหมือนกันทุกรูป




จังหวะนี่เอง ทนไม่ไหว หามุมนั่งเปลี่ยนเลนส์ก่อน  จาก 18-135 mm. มาเป็น 10-20 mm. ที่ยืมกะยึดของคนที่บ้านมาลอง
หลังจากที่เก็บรอยยิ้มแบบบายนหน่ำใจ อยากได้บรรยากาศโดยรวมมั้ง



มุมนี้ เป็น มุมที่ใกล้ชิด กับ ใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกเตศวรที่สุด   รอจังหวะปลอดคน จนแล้วจนรอด เป็นมุมขายดิบขายดี
ไม่ว่างจากหัวคนซักที  ไม่รงไม่รอมันละ แชะเลยละกัน เดินชมได้ครึ่งปราสาทอยู่เลย



เหตุเพราะมั่วเสียเวลานั่งพักและเปลี่ยนเลนส์ แหงนหน้ามองอีกที   อ้าว..สมาชิกหัวเขียว (หมวกสีเขียว) หายไปทางไหนหมดก็ไม่รู้
เอาวะ.. เป็นไงเป็นกัน ให้มันรู้ไปว่าจะหลงอยู่ในเนี่ย

ชอบรูปนี้มากที่สุด ภูมิใจในฝีมือชั้นอนุบาลของตัวเอง อิอิ  รัวไปไม่รู้กี่ร้อยรูป มีดีไม่กี่สิบรูป หนึ่งในสิบ ภาพนี้โดนใจที่สุด



จะว่าไม่กลัวหลง ก็เหมือนจะหลอกใจตัวเองเกินไป  ริหาญชาญชัยหลงตั้งแต่ปราสาทแรก
ใช้สัญชาตญาณดูว่ากลุ่มคนไหลไปทางไหน  ก้าวขาเดินตามอย่างวัดดวง และก็ได้ฉากนี้มา ชอบอ่ะ
ตรงที่มีพระเดินนำหน้า ทำให้ใจชื่นมาหน่อย  คงเป็นการตัดสินใจที่ดี พบทางออกแน่นอน ปลอบใจตัวเองเงียบ ๆ อิอิ



ก็เพราะหลงเสน่ห์ รอยยิ้มแบบบายน ทำให้อดชมไฮไลท์สำคัญอีกอย่าง  ของปราสาทบายน ก็คือ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์โบราณ
ที่ซ่อนอยู่ในห้องแคบ ๆ ลึงลงไปใต้ฐานของปราสาทกว่า 20 เมตร และน้ำจากศักดิ์สิทธิ์บ่อนี้ถูกน้ำไปใช้
ในพุทธบรมราชาภิเษกของกษัตริย์เขมรทุกร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่